วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ระบบแฟ้มข้อมูล

ระบบแฟ้มข้อมูล

การเก็บข้อมูลที่ใช้กันในระบบปฏิบัติการทุกตัว คือ จัดเก็บข้อมูลในรูปของแฟ้มข้อมูลซึ่งในแต่ละแฟ้มมักจะเก็บข้อมูลที่เป็นเรื่องเดียวกันเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการอ้างถึง โดยระบบปฏิบัติการจะมีส่วนที่อำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ในการสร้างแฟ้ม การเข้าถึงข้อมูลในแฟ้ม หรือการดำเนินการต่างๆ เกี่ยวกับแฟ้มข้อมูลไว้ให้โปรแกรมเรียกใช้เพื่อการบริการและการจัดการแฟ้ม รวมถึงการจัดการคุณสมบัติต่างๆ ของแฟ้ม ซึ่งโดยทั่วไปแล้วแฟ้มจะมีคุณสมบัติ ดังนี้

ที่มา: http://www.tkc.ac.th/osunun/e-booksystem/u7.htm

1. โครงสร้างของแฟ้มข้อมูล

 โครงสร้างของแฟ้มข้อมูล
การจัดโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลสามารถจัดได้หลายรูปแบบ แต่ส่วนใหญ่แล้วในทางปฏิบัติ ระบบปฏิบัติการมีวิธีการจัดโครงสร้างที่นิยมใช้งานใน 3 ลักษณะ คือ
                1.  การเก็บข้อมูลแบบไม่มีโครงสร้าง โดยจะเก็บข้อมูลเรียงเป็นลำดับต่อเนื่องกันไปดังแสดงในรูปที่  () โดยแต่ละชิ้นข้อมูลมีขนาดเป็นไบต์ ซึ่งในการเก็บข้อมูลลักษณะนี้ระบบปฏิบัติการจะไม่สนใจว่าในแฟ้มมีข้อมูลอะไรอยู่ จะมองข้อมูลในรูปของไบต์ทั้งหมด ระบบปฏิบัติการดอสและ
ยูนิกซ์ต่างก็มีโครงสร้างแฟ้มข้อมูลในลักษณะนี้ใช้งาน ซึ่งทำให้ผู้เขียนโปรแกรมสามารถจัดเก็บข้อมูลใดๆก็ได้ลงในแฟ้มข้อมูลโดยไม่จำเป็นต้องมีข้อกำหนดพิเศษใดๆ
2. การเก็บข้อมูลแบบมีโครงสร้าง โดยจะเก็บข้อมูลในลักษณะของกลุ่มข้อมูล ซึ่งเรียกว่า เรคอร์ด ดังแสดงในรูปที่  () โดยเรคอร์ดจะมีขนาดคงที่ ในการอ่านหรือบันทึกข้อมูลจะกระทำทีละ เรคอร์ด โดยกระทำกับเรคอร์ดใดในแฟ้มก็ได้
3. การเก็บข้อมูลแบบต้นไม้ ดังแสดงในรูปที่  () วิธีการนี้จะมีการแบ่งส่วนของสื่อบันทึกข้อมูลของเป็นส่วนๆ เรียกว่าบล็อก โดยแต่ละบล็อกจะมีหลายๆ เรคอร์ด และแต่ละ เรคอร์ด
มีคีย์ ( Key ) เพื่อใช้ในการจำแนกเรคอร์ด ในการเข้าถึงข้อมูลในแฟ้มข้อมูลจะไม่ได้เข้าถึงข้อมูลแบบลำดับแต่การเข้าถึงข้อมูล จะเป็นการเข้าถึงโดยอาศัยคีย์ ซึ่งเป็นการเข้าถึงข้อมูลเรคอร์ดนั้นโดยตรง โดยโครงสร้างของต้นไม้จะเรียงลำดับโดยคีย์ ซึ่งทำให้การเข้าถึงข้อมูลทำได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยอาศัยคีย์ในการเข้าถึง
()
()
()
ภาพแสดงโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลแบบต่างๆ
                ระบบปฏิบัติการที่มีประสิทธิภาพ จะต้องเป็นสามารถทำให้ผู้ใช้เป็นอิสระจากอุปกรณ์ ( Device Independent ) ดังนั้นการเข้าถึงแฟ้มเพื่อใช้งานข้อมูลของใช้จะต้องเหมือนกันหรือมีรูบแบบเดียวกันหมดไม่ว่าจะเป็นแฟ้มหรืออุปกรณ์ใดๆ เช่น โปรแกรมที่อ่านข้อมูลจากแฟ้ม อินพุตเข้ามาเรียงลำดับข้อมูล และเขียนผลลัพธ์กลับไปที่แฟ้มเอาต์พุต ควรใช้ได้กับแฟ้มบนฟล็อปปี้ดิสก์หรือแฟ้มบนฮาร์ดดิสก์ และควรเขียนเอาต์พุตออกทางแฟ้ม จอภาพ หรือเครื่องพิมพ์ ได้โดยไม่ต้องเขียนโปรแกรมให้ตรวจสอบในแต่ละกรณี 

ที่มา: http://www.tkc.ac.th/osunun/e-booksystem/u7_1.htm

2. ชนิดของแฟ้มข้อมูล

  ชนิดของแฟ้มข้อมูล

ระบบปฏิบัติการโดยทั่วไป จะสนับสนุนการทำงานกับแฟ้มได้หลายชนิด เช่น แฟ้มข้อมูลทั่วไป ไดเรกทอรี่ แฟ้มของอักขระ หรือแฟ้มของกลุ่มข้อมูล เป็นต้น โดยมีรายละเอียดของแฟ้มแต่ละชนิด ดังนี้
dia_pink_8.gif        แฟ้มทั่วไป เป็นแฟ้มที่เก็บข้อมูลต่างๆ ของผู้ใช้ ซึ่งอาจจะเก็บในลักษณะใดลักษณะหนึ่งตามที่ได้แสดงไว้ในรูป
dia_pink_8.gif        ไดเรกทอรี่ เป็นแฟ้มของระบบซึ่งใช้ในการจัดการโครงสร้างของระบบแฟ้มข้อมูล เช่น การจัดกลุ่มของแฟ้มประเภทเดียวกัน หรือมีความเกี่ยวข้องกันไว้ในไดเรกทอรี่เดียวกัน เป็นต้น ซึ่งจะกล่าวถึงรายละเอียดของไดเรกทอรี่ต่อไป
dia_pink_8.gif        แฟ้มอักขระ แฟ้มอักขระจะมีความเกี่ยวข้องกับการรับหรือการแสดงผลข้อมูลผ่านทางพอร์ทอนุกรมซึ่งจะมีการกระทำกับข้อมูลคราวละ 1 อักขระ เช่น แป้นพิมพ์ เป็นต้น
dia_pink_8.gif        แฟ้มของกลุ่มข้อมูล เป็นแฟ้มที่มีการดำเนินการกับข้อมูลในลักษณะ บล็อค หรือกระทำกับข้อมูลในแฟ้มคราวละ 1 กลุ่มข้อมูล เช่น ดิสก์ เป็นต้น
                สำหรับในบทนี้จะกล่าวเน้นเฉพาะแฟ้มทั่วไปเท่านั้น ข้อมูลที่เก็บในแฟ้มทั่วไป อาจจะอยู่ในรูปของรหัสแอสกี หรือที่เรียกว่าแฟ้มแอสกี ( ASCII File )โดยจะมีการเก็บข้อมูลเป็นบรรทัด และแต่ละบรรทัดจะแยกออกจากกันโดยอักขระขึ้นบรรทัดใหม่ ( Carriage Return Character ) หรืออักขระเลื่อนบรรทัด ( Line Feed Character ) และแต่ละบรรทัดก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมีจำนวนตัวอักขระเท่ากัน แฟ้มแอสกีนี้สามารถแสดงผลข้อมูลได้เหมือนกับข้อมูลที่มีอยู่ในแฟ้ม กล่าวคือ ข้อมูลที่แสดงผลออกมาไม่ว่าจะโดยอุปกรณ์แสดงผลแบบใด จะมีลักษณะเหมือนกับข้อมูลในแฟ้มนั้นทุกประการ เราสามารถสร้างหรือแก้ไขแฟ้มแอสกีได้โดยใช้อีดิเตอร์ทั่วไป ซึ่งทำได้สะดวกและรวดเร็ว จึงทำให้โปรแกรมใช้งานทั่วๆ ไป นิยมทำงานกับข้อมูลโดยใช้แฟ้มแอสกี นอกจากการที่ทำงานได้ง่าย
และสะดวกแล้ว ยังสามารถย้ายข้อมูลไปทำงานกับโปรแกรมอื่นได้ง่าย สำหรับแฟ้มไบนารี่ ( Binary File ) เป็นแฟ้มที่มีข้อมูลภายในไม่ใช่รหัสแอสกี เป็นแฟ้มที่สามารถปฏิบัติการได้
ภาพแสดงโครงสร้างของแฟ้มปฏิบัติการของระบบปฏิบัติการยูนิกซ์
                อีกรูปแบบหนึ่งของแฟ้มไบนารี่ คือแฟ้มไบนารี่ที่เป็นแฟ้มในการเก็บไลบลารี่ ( Library ) หรือโมดูล ( Module ) ที่ได้รับการคอมไพล์แล้ว แต่ยังไม่มีการลิงก์ ซึ่งแฟ้มเหล่านี้จะถูกใช้งานโดยโปรแกรมอื่นๆ จะทำงานเชื่อมแฟ้มเหล่านี้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมนั้นเพื่อนำไปใช้งาน ระบบปฏิบัติการโดยทั่วไป จะรู้จักแฟ้มปฏิบัติการเพียงหนึ่งหรือสองประเภท เช่น ในระบบปฏิบัติการดอสจะรู้จักแฟ้มปฏิบัติการ 2 ประเภทคือ .com และ .exe 

ที่มา: http://www.tkc.ac.th/osunun/e-booksystem/u7_2.htm

3. การเข้าถึงแฟ้มข้อมูล

3.1 การเข้าถึงข้อมูลแบบเรียงลำดับ (Sequential Access)

การเข้าถึงข้อมูลแบบเรียงลำดับ (Sequential Access) 
ระบบปฏิบัติการรุ่นแรกๆ จะมีการเข้าถึงแฟ้มข้อมูลเพียงแบบเดียวเท่านั้น คือ การเข้าถึงแบบลำดับ ( Sequential Access)โดยจะมีการอ่านหรือบันทึกข้อมูลในแฟ้มเรียงตามลำดับไบต์ หรือเรคอร์ดต่อเนื่องกันไป โดยไม่สามารถข้ามไบต์ใดไบต์หนึ่งหรือเรคอร์ดใดเรกคอร์ดหนึ่งไปได้ ซึ่งมักจะใช้วิธีการเข้าถึงแฟ้มแบบนี้กับสื่อบันทึกข้อมูลที่มีการเข้าถึงแบบลำดับ ( Sequential Access Storage Device : SASD ) เช่น เทปแม่เหล็ก

ที่มา: http://www.tkc.ac.th/osunun/e-booksystem/u7_2.htm

3.2 การเข้าถึงข้อมูลแบบสุ่ม (Random Access)

การเข้าถึงข้อมูลแบบสุ่ม (Random Access)
 
เมื่อมีการประดิษฐ์สื่อบันทึกข้อมูลแบบเข้าถึงโดยตรง เช่น ดิสก์ ขึ้นมาใช้งานทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลไบต์ หรือเรคอร์ดที่ต้องการในแฟ้มได้ ทำให้ไม่จำเป็นต้องเข้าถึงแบบลำดับต่อไป ซึ่งช่วยให้สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้รวดเร็วยิ่งขึ้น การเข้าถึงแฟ้มแบบสุ่มได้รับความนิยมนำไปใช้งานในโปรแกรมประยุกต์เป็นอย่างมาก เช่น ระบบฐานข้อมูล  ซึ่งทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ และทันต่อการใช้งาน
                การเข้าถึงแฟ้มข้อมูลแบบสุ่มเป็นแนวคิดและเทคนิกวิธีการเข้าถึงแฟ้มข้อมูลที่เป็นพื้นฐานในการทำงานของโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ มากมาย เช่น ระบบการจัดการฐานข้อมูล ถ้าลูกค้าของสายการบินต้องการจองตั๋วเครื่องบิน โปรแกรมที่ดำเนินการเรื่องนี้ต้องสามารถเข้าถึงข้อมูลเรคอร์ดของเที่ยวบินนั้นได้โดยตรง โดยไม่จำเป็นต้องอ่านเรคอร์ดอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเที่ยวบินนั้นๆ


ที่มา: http://www.tkc.ac.th/osunun/e-booksystem/u7_2.htm

4. การจัดระบบแฟ้ม File System

 การจัดระบบแฟ้ม File System

การจัดการข้อมูลของผู้ใช้จะเกี่ยวข้องกับการจัดการเก็บ การแบ่งข้อมูลลงแฟ้ม และการจัดการไดเรกทอรี่เพื่อให้สะดวกในการใช้งาน แต่ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้จะเป็นการจัดการข้อมูลของระบบปฏิบัติการ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการจัดการเนื้อที่ในอุปกรณ์เก็บข้อมูล (ดิสก์) และวิธีการจัดเก็บแฟ้ม

4.1 การจัดเก็บแฟ้มเรียงต่อเนื่องกันตลอดทั้งแฟ้ม ( Continuous Allocation )

การจัดเก็บแฟ้มเรียงต่อเนื่องกันตลอดทั้งแฟ้ม ( Continuous Allocation )               
           
 เป็นแนวคิดพื้นฐานในการจัดเก็บแฟ้มข้อมูล โดยจะจัดเก็บแฟ้มข้อมูลในรูปของลำดับบล็อกที่ต่อเนื่องกัน    เช่นหากแต่ละบล็อกมีขนาด 1 กิโลไบต์ แฟ้มข้อมูลขนาด 50 กิโลไบต์ ก็ต้องใช้เนื้อที่ขนาด 50 กิโลไบต์ที่ต่อเนื่องกันในดิสก์ ซึ่งแนวคิดในการจัดเก็บข้อมูลแบบนี้จะมีข้อดี 2 ประการ คือ มีโครงสร้างไม่ซับซ้อนและใช้งานง่าย เนื่องจากในระบบแฟ้มข้อมูลแบบนี้ไม่จำเป็นต้องมีการรักษาค่าต่างๆ ของดิสก์เลย เพียงแต่ทราบตำแหน่งเริ่มต้นของแฟ้มข้อมูลก็จะสามารถทำงานได้โดยการอ่าน ข้อมูลต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ จนกว่าจะสิ้นสุดแฟ้มข้อมูล และข้อดีประการที่สองคือในการอ่านข้อมูลทั้งแฟ้มนั้นสามารถทำได้โดยใช้คำ สั่งอ่านข้อมูลเพียงคำสั่งเดียวก็จะสามารถอ่านข้อมูลที่มีในแฟ้มข้อมูลนั้น ได้ทั้งหมด และในทางกลับกันแฟ้มข้อมูลลักษณะนี้ก็มีข้อเสียสองประการ
เช่นเดียวกันคือ ประการแรกระบบปฏิบัติการจะไม่สามารถทราบขนาดของแฟ้มข้อมูลเมื่อเริ่มมีการสร้างขึ้นมาได้

               ซึ่งจะส่งผลให้ไม่สามารถที่จะเตรียมเนื้อที่ดิสก์เพื่อสำรอง การเก็บข้อมูลของแฟ้มนี้ได้ หรือไม่ทราบว่าจะต้องเตรียมเนื้อที่ดิสก์สำหรับแฟ้มนี้ขนาดเท่าใด ประการที่สองคือ การใช้งานแฟ้มข้อมูลแบบนี้อาจจะก่อให้เกิดปัญหาเนื้อที่ว่างในดิสก์ที่ไม่ สามารถใช้งานได้ หรือเนื้อที่ว่างในดิสก์ไม่มีเนื้อที่ที่ต่อเนื่องกันที่เพียงพอสำหรับเก็บ ข้อมูลของแฟ้มแบบนี้ ทั้งนี้เนื่องจากแฟ้มข้อมูลแบบนี้ต้องการเนื้อที่ที่ต่อเนื่องกันในการเก็บ ข้อมูล ดังนั้นระบบปฏิบัติการจึงจำเป็นต้องมีการรวมเนื้อที่ว่างในดิสก์ เพื่อให้มีเนื้อที่ว่างเพียงพอ ซึ่งจะส่งผลให้ต้องเสียเวลาในการต้องรวมเนื้อที่ว่างเพื่อการดังกล่าว และปัญหาลักษณะเดียวกันนี้อาจจะเกิดขึ้นในกรณีที่มีการปรับปรุงหรือเพิ่ม ข้อมูลซึ่งแฟ้มมีขนาดใหญ่ขึ้น และต้องการเนื้อที่มากขึ้น ทำให้แฟ้มนั้นอาจไม่สามารถจัดเก็บในตำแหน่งเดิมในดิสก์ได้เนื่องจากไม่มีที่ ว่างพอ ดังนั้นจึงต้องหาที่ว่างในดิสก์ที่ใหม่ที่มีขนาดใหญ่เพียงพอสำหรับขนาดใหม่ ของแฟ้มที่โตขึ้นและเนื้อที่ของดิสก์ที่มีขนาดเล็กจนไม่สามารถเก็บแฟ้มใดได้ ก็จะเป็นเนื้อที่ที่ไม่มีการใช้ประโยชน์ จึงทำให้การจัดเก็บแฟ้มแบบนี้ไม่นิยมนำมาใช้ในระบบปฏิบัติการ

ที่มา: http://www.tkc.ac.th/osunun/e-booksystem/u7_5.htm

4.2 การจัดเก็บแฟ้มแบบตารางแฟต (File Allocation Table : FAT )

การจัดเก็บแฟ้มแบบตารางแฟต (File Allocation Table : FAT )

ในการจัดเก็บแฟ้มแบบแฟต ระบบปฏิบัติการต้องมีวิธีที่จะทราบว่าแต่ละบล็อคของแฟ้มจะเก็บไว้ในบล็อคใดในดิสก์ และไม่จำเป็นที่ข้อมูลของแฟ้มเดียวกันจะอยู่ใน บล็อคที่ติดกัน ซึ่งจะต้องมีลิงก์เชื่อมระหว่างบล็อคที่เก็บข้อมูลของแฟ้มแฟ้มเดียวกัน ดังนั้นใน บล็อคขนาด 512 ไบต์ จะใช้ประโยชน์ในการเก็บข้อมูลของแฟ้มเพียง 510 ไบต์ ส่วนอีก 2 ไบต์ที่เหลือจะใช้ในการเก็บหมายเลขบล็อคลำดับถัดไปที่เก็บข้อมูลแฟ้มเดียวกัน ซึ่งในกรณีที่แฟ้มมีขนาดใหญ่จะทำให้ต้องใช้เวลามากในการเข้าถึงแฟ้ม เนื่องจากต้องย้ายไปยังบล็อคต่างๆ ที่เก็บข้อมูลของแฟ้มหลายบล็อค
นอก จากการใช้ลิงก์ลิสต์ในการควบคุมบล็อคสำหรับเก็บแฟ้มแล้ว ยังมีวิธีการอื่นๆ ที่ช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้น คือการทำตารางเก็บค่าหมายเลขบล็อคแต่ละบล็อคที่เก็บแฟ้มไว้แทนการเก็บไว้ที่ ท้ายบล็อคนั้นๆ ซึ่งเรียกว่าตารางการจัดสรรแฟ้มหรือที่เรียกกันทั่วไปว่าตารางแฟต ดังภาพด้านล่าง โดยทั่วไปตารางการจัดสรรแฟ้มจะถูกโหลดมาเก็บไว้ในหน่วยความจำทำให้สามารถ เข้าถึงแฟ้มข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว


ภาพแสดงแฟ้มข้อมูลแบบตารางแฟต

จากตัวอย่างตารางแฟต จะมีการเก็บหมายเลขบล็อคของแฟ้ม 2 แฟ้ม คือแฟ้มแรก เริ่มต้นที่บล็อคหมายเลข 6 แล้วตามด้วยบล็อคหมายเลข 4 หมายเลข 6 และ หมายเลข 2 ตามลำดับ สำหรับแฟ้มที่สองเริ่มที่บล็อคหมายเลข 8 แล้วตามด้วยบล็อคหมายเลข 16 หมายเลข 15 และ หมายเลข 7 ตามลำดับ วิธีการนี้เป็นวิธีการที่ใช้ในระบบปฏิบัติการดอส และจากการที่ตารางแฟตมีความสำคัญต่อการเข้าถึงแฟ้มดอสจึงออกแบบให้มีตารางแฟต 2 ตารางที่มีข้อมูลภายในเหมือนกันโดยอีกตารางเป็นตารางแฟตสำรองในกรณีที่ตารางแรกเกิดความเสียหาย ระบบแฟ้มแบบบแฟต
ที่มา: http://www.tkc.ac.th/osunun/e-booksystem/u7_5.htm

4.3 การจัดระบบแฟ้มแบบเรด RAID

การจัดระบบแฟ้มแบบเรด (RAID)
ผู้ออกแบบฮาร์ดแวร์ ได้พยายามปรับปรุงการทำงานของดิสก์ โดยการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มความเชื่อถือได้ของการจัดเก็บแฟ้ม และเพิ่มความจุของดิสก์ ซึ่งในการเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานนั้น หมายถึงการเพิ่มอัตราเร็วของการขนถ่ายข้อมูล และความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล (โดยการเพิ่มความเร็วในการหมุนของดิสก์ เพื่อลดเวลาในการเข้าถึงข้อมูลและเพิ่มอัตราเร็วในการขนถ่ายข้อมูล) นอกจากนี้ยังได้พยายามเพิ่มความหนาแน่นของข้อมูลในดิสก์ (เพิ่มความจุข้อมูล และลดเวลาในการขนถ่ายข้อมูล

เรดแบบเงากระจก (Mirroring RAID)
แนวคิดในการทำงานแบบเงากระจก นี้เป็นความพยายามเพิ่มความเชื่อมั่นในระบบการจัดเก็บแฟ้ม โดยการติดตั้งดิสก์ 2 ตัว (หรืออาจจะมากกว่า) ซึ่งเป็นดิสก์ที่มีขนาดและคุณสมบัติเหมือนกัน เพื่อทำการเก็บข้อมูลชุดเดียวกัน ดังนั้นเมื่อมีการจัดเก็บแฟ้มหรือข้อมูลลงในดิสก์ แฟ้มหรือข้อมูลนั้นจะถูกนำไปจัดเก็บในดิสก์ทั้ง 2 ตัว ซึ่งดิสก์ทั้ง 2 ตัวนั้นก็จะมีข้อมูลที่เหมือนกันทุกประการ ดังนั้นหากเกิดความเสียหายของข้อมูลในดิสก์ตัวใดตัวหนึ่ง ดิสก์อีกตัวหนึ่งที่จะถูกเรียกใช้งานแทนทันที ซึ่งด้วยวิธีการลักษณะนี้จะช่วยเพิ่มความเชื่อถือได้ของการจัดเก็บแฟ้มได้มากยิ่งขึ้น

เรดแบบแบ่งส่วนแฟ้ม (Striping RAID)
แนวคิดในการทำงานแบบแบ่งส่วนของแฟ้มนี้เป็นความพยายามเพิ่มความความเร็วในการทำงานและเพิ่มอัตราการขนถ่ายข้อมูลให้สูงขึ้น โดยการแบ่งส่วนของแฟ้มออกเป็นส่วนๆ และกระจายแต่ละส่วนไปจัดเก็บในดิสก์แต่ละตัวของเรด (โดยจัดเก็บในตำแหน่งของบล็อคตำแหน่งเดียวกันหมด) และเมื่อต้องการเข้าถึงข้อมูลเพื่อนำมาใช้งานก็ทำการอ่านข้อมูลจากตำแหน่งดังกล่าวพร้อมกันในทุกดิสก์ (ซึ่งจะสามารถอ่านข้อมูลจากดิสก์ทุกตัวได้ในเวลาเดียวกัน) ทำให้อัตราเร็วในการขนถ่ายข้อมูลสูงขึ้น (ซึ่งการเพิ่มขึ้นของอัตราเร็วในการขนถ่ายข้อมูลนี้จะขึ้นอยู่กับจำนวนของดิสก์ที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลด้วย) เพื่อให้มองเห็นภาพการทำงานของการใช้งานเรดแบบแบ่งส่วนของแฟ้มได้ชัดเจนยิ่งขึ้นจะขอยกตัวอย่างการทำงานดังต่อไปนี้ สมมุตว่าดิสก์ตัวหนึ่งมีความจุ 200 เมกกะไบต์ แบ่งออกเป็นบล็อค และแต่ละบล็อคมีขนาด 1 กิโลไบต์ และมีอัตราเร็วในการขนถ่ายข้อมูลเท่ากับ 0.344 มิลลิวินาทีต่อ 1 บล็อค เมื่อมีการนำดิสก์ดังกล่าวไปใช้งานในรูปแบบเรดโดยมีการติดตั้งดิสก์จำนวน 2 ตัวในการทำงานก็จะสามารถขนถ่ายข้อมูลได้คราวละ 2 บล็อค โดยแต่ละบล็อคมาจากดิสก์แต่ละตัว ดังนั้นอัตราการขนถ่ายข้อมูลโดยรวมก็จะสูงขึ้นจาก 2.98 เมกกะไบต์ต่อวินาที ( 1 กิโลไบต์ / 0.000344 ) เป็น 5.95 เมกกะไบต์ต่อวินาที (2 กิโลไบต์ / 0.000344) และอัตราเร็วในการขนถ่ายข้อมูลนี้จะเพิ่มขึ้นอีกหากมีการติดตั้งดิสก์ของเรดให้มากขึ้น
 

ที่มา: http://www.google.co.th/url?sa=t&source=web&cd=4&ved=0CDAQFjAD&url=http%3A%2F%2Fwww.sisat.ac.th%2Fmain%2Fimages%2Fdocument%2Fos.doc&rct=j&q=%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%94&ei=2etQTYTZBMblrAf0zamdCA&usg=AFQjCNGhR1aH9QeYR_NgDDIK11NvlwxXBw&sig2=ZlIObJGta1oeJqPf8t5wFA&cad=rja

วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554

การติดตาย Deadlock


การติดตาย (Deadlock)
ในสภาพการทำงานแบบหลายโปรแกรม หลายโพรเซสอาจจะมีการแข่งกันเข้าใช้งานทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด 
โพรเซสจะมีการร้องขอใช้งานทรัพยากรถ้าในขณะนั้นทรัพยากรไม่ว่างก็จะส่งผลให้โพรเซสนั้นรอจนกว่าจะได้เข้าทำงาน  ดังนั้นจึงอาจเหตุกรณีที่โพรเซสถูกให้อยู่ในสถานะการรอไปไม่มีที่สิ้นสุดเนื่องจากทรัพยากรนั้นก็ถูกร้องขอจากโพรเซสอื่นที่รออยู่เช่นกัน  เช่นนี้เรียกว่าการติดตาย (Deadlock)
7.1 รูปแบบโครงสร้าง 
ทรัพยากรในระบบมีอยู่อย่างจำกัดในการใช้งาน ดังนั้นจึงต้องเกิดการแย่งเข้าใช้ทรัพยากรนั้น ชนิของทรัพยากรในที่นี้แบ่งออกเป็น เนื้อที่ว่างในหน่วยความจำ  เวลาในการประมวลผล  ไฟล์ และอุปกรณ์ I/O เมื่อโพรเซสต้องการเข้าใช้ทรัพยากรต้องมีการร้องขอแล้วก็ออกจากการใช้ทรัพยากรนั้นหลังจากเสร็จสิ้นการทำงาน ณ ส่วนนั้น จำนวนการร้องขอใช้ทรัพยากรจะต้องไม่มากกว่าจำนวนทรัพยากรที่มีอยู่ในระบบ ดังนั้นสามารถลำดับการทำงานของโพรเซสใช้ทรัพยากรดังนี้
1. request  ถ้าในกรณีที่การร้องขอไม่สามารถได้รับการตอบสนองทันที อาจเนื่องจากทรัพยากรขณะนั้นกำลังถูกโพรเซสอื่นใช้งาน  แล้วโพรเซสที่ทำการร้องขอเข้ามาต้องรอจนกว่าจะเข้าใช้ทรัพยากรนั้นได้
2. Use : โพรเซสสามารถทำงานบนทรัพยากร (เช่น การพิมพ์งานผ่านทางเครื่องพิมพ์)
3. Release : โพรเซสออกจากการใช้ทรัพยากร
7.2     ลักษณะของการติดตาย
การติดตายสามารถเกิดขึ้นได้หากเกิดสถานการณ์ดังต่อไปนี้
1. Mutual Exclusion  ต้องมีทรัพยากรอย่างน้อย 1 ตัวที่ไม่ได้อนุญาตให้ร่วมใช้งาน ดังนั้นมีเพียงโพรเซสเดียวที่สามารถเข้าใช้งาน  ถ้าโพรเซสอื่นมีการร้องขอเข้าใช้งาน การร้องขอต้องถูกรอจนกว่าทรัพยากรนั้นจะว่างให้ใช้งาน
2. Hold & wait ต้องมีโพรเซสมีการใช้งานทรัพยากรอย่างน้อย 1 ตัว และกำลังรอเพื่อเข้าทำงานทรัพยากรอีกตัวที่กำลังถูกโพรเซสอื่นใช้งาน
3. No  Preemption  ทรัพยากรสามารถถูกปล่อยได้ตามความพอใจของโพรเซสที่กำลังใช้งาน ซึ่งก็คือหลังจากที่งานของโพรเซสนั้นเสร็จสิ้น เนื่องจากขึ้นอยู่กับความพอใจของโพรเซสว่าจะยอมปล่อยทรัพยากรออกให้ใช้งานได้เมื่อไหร่

4. Circular Wait มีเชตของ {P0, P1, ..., Pn} ของโพรเซสที่กำลังรอเช่น P0 กำลังรอทรัพยากรที่ถูกใช้โดย P1 ขณะเดียวกัน P1 ก็รอเข้าใช้ทรัพยากรที่กำลังถูกโพรเซส P2 ใช้งาน  ท้ายสุดโพรเซสตัวสุดท้ายกำลังรอเข้าใช้ทรัพยากรที่โพรเซสแรกกำลังใช้งาน

การกำหนดทรัพยากรด้วยกราฟ

               การติดตายสามารถอธิบายได้ด้วยกราฟอย่างง่ายๆ เรียกว่า System resource-allocation graph  กราฟนี้จะประกอบไปด้วยกลุ่มของ V (Vertices) และกลุ่มของ E (edge)   กลุ่มของ V แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่คือจุดของ
P = {P1,P2,P3...,Pn}  เซตนี้ประกอบด้วยโพรเซสที่กำลังทำงานในระบบ  และจุดของ R = {R1,R2,R3...,Rm} เซตนี้ประกอบด้วยทรัพยากรทุกชนิดในระบบ    การร้องขอสามารถแทนได้ด้วย  Pi à Rj  หมายถึงโพรเซส Pi ขอเข้าทำงานทรัพยากร Rj   ส่วนการกำหนดให้ทรัพยากรบริการโพรเซสแทนได้ด้วย Rk à Pj หมายถึงทรัพยากร Rk กำลังถูกโพรเซส Pj ใช้งาน

7.1     วิธีการควบคุมการติดตาย
เพื่อป้องกันหรือควบคุมการเกิดการติดตายสามารถทำได้ 3 วิธีคือ
1. แน่ใจว่าระบบจะไม่เกิดการติดตายโดยการใช้ Protocol
2. ยอมให้ระบบเข้าสู่การติดตายได้ชั่วคราวแล้วสามารถออกมาได้
3. เมินเฉยทุกอย่าง แล้วอ้างว่าไม่เคยเกิดการติดตายในระบบ วิธีนี้ใช้อยู่ในระบบ Unix
7.4 การป้องกันการติดตาย
จากที่ทราบมาแล้วว่าเหตุที่ทำให้เกิดการติดตายมาจาก 4 ข้อที่กล่าวถึงหัวข้อ 7.2
Mutual Exclusion  เงื่อนไขของการเกิด mutual คือการใช้งานทรัพยากรที่อนุญาตให้ใช้ได้ทีละงาน เช่น
เครื่องพิมพ์  อีกนัยหนึ่งการร่วมใช้ข้อมูลโดยไม่ต้องการเข้า mutual ทำให้ไม่เกิดการติดตาย ตัวอย่างของไฟล์ที่สามารถอ่านได้อย่างเดียว ถ้าหลายๆโพรเซสพยายามที่จะอ่านก็สามารถเข้าอ่านได้ทันทีอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดีทรัพยากรบางชนิดไม่สามารถประกาศใช้งานร่วมกันได้
7.5     การหลีกเลี่ยงการติดตาย
จากข้อที่ผ่านมาเป็นการป้องกันการเกิดการติดตายโดยการจัดการกับสัญญาณที่ร้องขอใช้ทรัพยากร แต่อาจส่งผลให้การใช้งานระบบ หรือประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ดังนั้นจึงมีวิธีที่หลีกเลี่ยงการติดตายโดยพิจารณาจากข้อมูลของทรัพยากรที่ถูกร้องขอ เช่นในระบบที่มีเทป และเครื่องพิมพ์อย่างละตัว ดังนั้นเราอาจจัดสรรให้โพรเซส P เข้าใช้งานเทปก่อนแล้วก็ใช้งานเครื่องพิมพ์ ในขณะที่โพรเซสQ ใช้งานเครื่องพิมพ์ก่อนแล้วค่อยใช้เทป ดังนั้นนอกจากการร้องขอแล้วตรวจว่าทรัพยากรว่างหรือไม่ จึงต้องมีการดูด้วยว่าขณะนั้นทรัพยากรนั้นถูกใช้โดยใครแล้วโพรเซสไหนจะใช้อะไรก่อนหลัง  นอกจากนี้อาจมีข้อมูลที่มากที่สุดที่ขอใช้ทรัพยากรชนิดนั้น  รูปแบบอัลกอริทึมของการหลีกเลี่ยงการติดตายจะมีการตรวจสอบสถานของการใช้ทรัพยากรเพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่การเกิดการรอแบบลูปอย่างสม่ำเสมอตลอดเวลา  สถานะของการใช้ทรัพยากรถูกกำหนดด้วยจำนวนของทรัพยากรที่ถูกใช้งานและจำนวนทรัพยากรที่มีอยู่ในระบบ




วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554

วิธีการทำ Overclock CPU


วิธีการทำ Overclock CPU

การโอเวอร์คล็อกนั้นก็คือ การเพิ่มความเร็วหรือสัญญาณนาฬิกา (MHz) ให้สูงกว่าค่าเดิมของตัว Cpu นั้นแหละครับ เช่นเราใช้ Cpu AMD Athlon 64 3200+ ความเร็ว 2000Mhz แล้วทำการโอเวอร์คล็อกเพิ่มขึ้นไปเป็น 2200Mhz เราก็เรียกว่าการโอเวอร์คล็อกแล้วละครับ แต่เรากลับได้ความเร็วเพิ่มขึ้นมาจากเดิมโดยไม่เสียสตางค์แม้แต่แดงเดียว Cpu ทุกตัวก็สามารถที่จะโอเวอร์คล็อกได้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับตัว Cpu เองและปัจจัยอีกหลายๆอย่างที่เราจะโอเวอร์คล็อกให้เกินสัญญาณนาฬิกาเดิมๆของ ตัว Cpu นั้นเองรวมถึงปัจจัยอีกหลายๆอย่างด้วย ส่วนปัจจัยต่างๆที่ผมว่านั้นคืออะไร? ทำงานอย่างไร? และ โอเวอร์คล็อกยังไง? ผมจะทยอยๆนำเสนอนะครับเอาเป็นว่าไปดูความหมายของคำแต่ละตัวดีกว่าครับ

Fron Side Bus (FSB)

..หมาย ถึง เส้นทางการส่งข้อมูลของวงจรซึ่ง FSB นั้นจะส่งข้อมูลและทำงานไปพร้อมๆกับอุปกรณ์ต่างๆเช่น Cpu , Ram หรือแม้กระทั้งสล็อก AGP และ PCI เพราะว่าอุปกรณ์แต่ละตัวก็จะมีความถี่ (Mhz) ที่แตกต่างกันออกไปแต่ในเวลาที่เราจะทำการ overclock นั้นเราต้องไปดูที่ Multiplier (ตัวคูณ) ว่ามีมากน้อยเพียงใดเช่น 10 x 200Mhz = 2000Mhz นั้นคือค่า Default แต่อันนี้ต้องดูจาก Cpu ของคุณด้วยนะครับว่าใช้ FSB หรือ Multiplier ที่เท่าไร เวลาเราจะปรับก็ปรับขึ้นจากเดิมเช่น 10 x 210Mhz = 2100Mhz เราก็จะได้ความเร็วเพิ่มขึ้นมาจากเดิมแต่การเพิ่ม FSB ก็มีทั้งผลดีและผลเสียอยู่เหมือนกันคือ ถ้าเราปรับ FSB สูงขึ้นมาจากเดิมก็จะส่งผลให้ Bandwidth ของระบบสูงขึ้นแต่ก็จะได้ความเร็วและเสรียนในการทำงาน ส่วนผลเสียนั้นคือเวลาเราปรับ FSB เกินค่าเดิมๆเกินที่อุปกรณ์จะรับได้แล้วก็จะส่งผลให้อุปกรณ์ตัวนั้นพังไปเลย ก็ได้ แต่ก็มีผู้ผลิต Mainboard ที่ใส่ความสามารถเข้าไปให้สามารถ Fix ค่า AGP , PCI ได้ก็เป็นข้อดีที่เราจะไปแตะ FSB สูงๆได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงค่า AGP , PCI และความถี่ของอุปกรณ์จะไม่กระทบต่อระบบเลยก็คือต้องใช้ FSB ที่ 100,133,166,200 ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับ Cpu และ Mainboard ด้วย


ตัวอย่างการใช้ FSB ของ P4 Prescott 2.4A ที่ 133 MHz โดยโปรแกรม Cpu-z และมีตัวคูณ 18.0x และใช้ Vcore 1.40v

Multiplier (ตัวคูณ)

..หมาย ถึง ตัวคูณ Cpu ทุกตัวทั้ง INTEL และ AMD จะมีอยู่ในตัง Cpu อยู่แล้วแต่จะมีไม่เท่ากันเช่น Athlon XP 3000+ ใช้ตัวคูณ13.0x และใช้ FSB 166MHz แต่ส่วน Athlon 64 3200+ใช้ตัวคูณ 10.0x และใช้ FSB 200Mhz จะเห็นว่า Cpu แต่ละตัวก็ใช้ FSB ที่แตกต่างกันออกไปด้วยเช่นกัน แต่ในทาง overclock Cpu ของ INTEL ไม่สามารถเปลี่ยคัวคูณได้แต่ Cpu AMD สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งการเพิ่มตัวคูณนั้นจะไม่มีผลการทบต่ออุปกรณ์รอบข้างแต่อย่างใดแต่จะมีผล ต่อความเร็วที่ Cpu เท่านั้น

วิธีการคำนวนความเร็ว Cpu

..ซึ่งเราก็ได้รู้ถึงการทำงานของ Multiplier และ FSB ไป แล้วซึ่งทั้งสองค่านี้จะสามารถบอกถึงความเร็วของ Cpu ได้ด้วยวิธีการคำนวนก็ง่ายๆครับเอา Multiplier X FSB = ความเร็ว Cpu ยกตัวอย่างเช่น 10.0 X 200Mhz = 2000Mhz ก็เป็นวิธีง่ายๆนะครับสำหรับมือใหม่ก็สามารถนำไปใช้งานดูละกันหรือใครขี้ เกียจก็ใช้โปรแกรมต่างๆตรวจสอบให้ก็ได้ครับเช่น WCPUID , Sisoft Sandra 2004 ฯลฯ โปรแกรมดังกล่างก็สามารถ Download ได้ที่หน้าเว็บเราเลยครับ

VIO (ไฟ Chipset)

...หมายถึง ไฟที่ป้อนให้กับ Chipset Mainboard บางตัวเช่น ABIT AN7 , NF7-S ฯลฯ ก็จะสามารถปรับไฟเลี้ยงให้กับ Chipset ได้อีกด้วย

Vcore ( ไฟเลี้ยง Cpu)

...หมายถึงไปที่ใช้เลี้ยง Cpu ซึ่งแน่นอนว่า Cpu ทุกตัวก็มีไฟเลี้ยงและใช้ไฟเลี้ยงที่ต่างกันออกไปเช่น Intel Pentium4 Prescott 2.40A ใช้ไฟเลี้ยง 1.4v และ Athlon 64 3200+ ใช้ไฟเลี้ยง 1.6v แต่ในทาง overclock ไฟเลี้ยง Cpu ที่สูงๆจะทำให้สามารถ overclock ได้สูงด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการระบายความร้อนให้ Cpu อีกด้วยแต่ถ้าเพิ่ม vcore มากจนเกินไป แล้วไม่ได้ระบายความร้อน Cpu ให้ดี Cpu ของคุณก็อาจจะลาโลกไปก็ได้

ตัวอย่างการระบายความร้อนให้กับ Cpu ในขณะ Overclock ด้วย Waterblock

...ก็จบไปแล้วนะครับสำหรับการ Overclock Step1 ก็ลองเอาไปหัด overclock เล่นกันไปพลางๆก่อนนะครับและผมจะรีบเขียน Step2 ออกมาให้อีกทีนะครับ เกรินๆไว้ก่อนนะครับว่าใน Step2 นั้นเราจะย่างกายเข้าไปในส่วนของ Bios กันหรือเริ่ม overclock นั้นแหละครับยังไงก็จัดเตรียมอุปกรณ์กันเอาไว้ในพร้อมนะครับ ผมก็ขอจบ Step ที่หนึ่งเอาไว้แค่นี้ถ้าผิดพลาดประการใดก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับยินดีรับคำด่าอย่างเต็มที่ ฮาๆๆ สำหรับบทความนี้ก็คงจบเพียงเท่านี้ สวัสดีปีใหม่ไทยย้อนหลังครับ.

...อย่างที่ได้เกรินไว้ตั้งแต่ Overclock Step ที่ 1 เอาไว้ว่าจะพามาเยื่ยมชมในส่วนที่เราจะ overclock กันนั้นก็คือ Bios นั้นเอง ในไบออสนี่ก็จะมีฟังชั่นในการปรับแต่งมากมายทั้งในส่วนของการ overclock หรือการตั้งค่าต่างๆก็จะอยู่ที่ไบออสเนี้ยแหละครับ แต่การ overclock ก็สามารถทำผ่าน windows ก็ได้เหมือนกันแต่ต้องใช้ uGURU Technology บนเมนต์บอร์ด ABIT เจ้าแห่งการ overclock เค้านั้นแหละครับ แต่ท่านใดไม่ได้ใช้ก็ไม่เป็นไรครับอะไปดูเมนูหลักๆที่เราจะใช้ในการ overclock กันดีกว่าครับ
 
ที่มา:http://www.jokergameth.com/board/showthread.php?t=35504

ข้อดี และข้อเสีย ของการ Over Clock


ข้อดีของการ Over Clock

ที่เห็นชัดเจนคือได้ใช้ CPU ที่มีความเร็วมากขึ้น โดยที่จ่ายเงินซื้อในราคาเท่าเดิม เช่น แทนที่จะซื้อ CPU ความเร็ว 500 MHz ก็เปลี่ยนแปลงเป็นการซื้อ CPU ที่มีความเร็ว 400 MHz มาทำ Over Clock เป็น 500 MHz ซึ่งผลที่ได้ก็คือ ได้ใช้งาน CPU ที่ความเร็วเท่ากันในราคาที่ถูกกว่า และอีกแนวทางหนึ่ง ก็คือสมมุติว่า คุณใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ไปนาน ๆ แล้ว เกิดมีความรู้สึกว่าเครื่องที่ใช้งานอยู่นั้น เริ่มจะมีความเร็วช้าไปบ้าง แต่ยังไม่อยากที่จะลงทุนเปลี่ยนเครื่องหรือ Upgrade เปลี่ยน CPU ใหม่ การนำเอา CPU ตัวเดิมนั้นมาทำ Over Clock ก็เป็นทางออกอีกทางหนึ่ง ที่จะได้ความเร็วเพิ่มขึ้นมา โดยการเสียเงินน้อยที่สุดครับ นอกจากนี้ยังได้ความรู้เกี่ยวกับ เครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นด้วย

ข้อเสียของการ Over Clock

เท่าที่ทราบมาว่า จะเป็นการลดอายุการใช้งานของ CPU ลงไป เช่นจากเดิมที่เ้คยออกแบบมาให้ใช้งานได้ประมาณ 15 ปี ก็อาจจะมีอายุสั้นลงมาเหลือแค่ 10 ปีเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่แล้วก็คงจะไม่มีใครใช้งาน CPU ได้นานขนาดนั้นหรอกครับ อีกข้อหนึ่งก็คือ เรื่องความร้อนของเครื่องคอมพิวเตอร์ จะมีมากขึ้นเมื่อทำการ Over Clock เพราะว่าเหมือนกับการใช้งาน CPU แบบเกินกว่าค่าปกตินะครับ อ้อ อีกอย่างหนึ่ง เขาบอกว่า CPU ของคุณจะหมดประกันทันทีที่ทำการ Over Clock (ผมเองก็ไม่ทราบเหมือนกันนะครับว่า จะตรวจสอบได้อย่างไร)


ที่มา: http://www.dld.go.th/ict/article/hard/hw20.html

การทำ Over Clock CPU นั้น มีผลดีผลเสีย และ วิธีการ





การทำ Over Clock CPU นั้น มีผลดีผลเสีย และวิธีการทำกันอย่างไร

ที่จริงแล้ว ผมเองต้องขอออกตัวก่อนนะครับว่าไม่ใช่เซียน Over Clock เพียงแต่ประสบการณ์ที่ผ่านมาทำให้ผมต้องเขียนเรื่องนี้ ก็เพราะว่าเจ้า คอมพิวเตอร์เครื่องแรก (ที่ผมได้เป็นเจ้าของจริง ๆ) โดนคนขายหลอกมาเอา CPU Pentium 100 MHz มาทำ Over Clock เป็น Pentium120 MHz โดยที่ผมเองก็ไม่ค่อยจะได้รู้เรื่องอะไรก็ใช้ไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งวันหนึ่ง เกิดอยากจะ Upgrade เครื่องขึ้นมาถึงได้รู้ความจริงว่า CPU ตัวนั้นเป็นแค่ Pentium 100 MHzดังนั้นท่านทั้งหลาย ก็ควรจะลองตรวจสอบเครื่องที่ท่านใช้งานอยู่บ้าง ว่าจะเจออย่างผมหรือเปล่า ในส่วนของผมคงจะเขียนอธิบายแต่ละส่วนเพียวคร่าว ๆ เท่านั้น  หากต้องการรายละเอียดของเทคนิคต่าง ๆ ก็ลองหาอ่านดูตาม Link ด้านล่างเพิ่มได้ 

ที่มา: http://www.dld.go.th/ict/article/hard/hw20.html

Over Clock


Over Clock คืออะไร

คือการนำเอาอุปกรณ์เช่น CPU ที่ออกแบบมาสำหรับให้ทำงานที่ความเร็วค่าหนึ่ง แต่นำมาใช้งานที่ความเร็วสูงกว่านั้น เช่น CPU ความเร็ว 400 MHz แต่นำมาใช้งานที่ 500 MHz แทน หรือนำเอา CPU ที่เป็นนรุ่นความเร็ว 500 MHz มาทำงานที่ความเร็ว 667 MHz อะไรทำนองนี้ครับ ภาษาที่ใช้แทนสำหรับการ Over Clock ก็เช่น 400@500 หรือ 500@667 เป็นต้น นอกจากนี้ อุปกรณ์อื่น ๆ ก็สามารถนำมา Over Clock ได้เหมือนกันนะครับ เช่น RAM ที่เป็นแบบความเร็ว 100 MHz แต่นำมาทำงานที่ความเร็ว 133 MHz รวมถึงการ Over Clock การ์ดจอด้วยครับ เช่นปกติการ์ดจอทำงานที่ความเร็ว 110 MHz แต่เราตั้งให้ทำงานที่ 120 MHz อย่างนี้เรียกว่า Over Clock เหมือนกัน แต่โดยทั่วไปแล้วนิยมทำ Over Clock กับ CPU มากกว่า


ที่มา:http://www.dld.go.th/ict/article/hard/hw20.html