การจัดเก็บแฟ้มแบบตารางแฟต (File Allocation Table : FAT )
ในการจัดเก็บแฟ้มแบบแฟต ระบบปฏิบัติการต้องมีวิธีที่จะทราบว่าแต่ละบล็อคของแฟ้มจะเก็บไว้ในบล็อคใดในดิสก์ และไม่จำเป็นที่ข้อมูลของแฟ้มเดียวกันจะอยู่ใน บล็อคที่ติดกัน ซึ่งจะต้องมีลิงก์เชื่อมระหว่างบล็อคที่เก็บข้อมูลของแฟ้มแฟ้มเดียวกัน ดังนั้นใน บล็อคขนาด 512 ไบต์ จะใช้ประโยชน์ในการเก็บข้อมูลของแฟ้มเพียง 510 ไบต์ ส่วนอีก 2 ไบต์ที่เหลือจะใช้ในการเก็บหมายเลขบล็อคลำดับถัดไปที่เก็บข้อมูลแฟ้มเดียวกัน ซึ่งในกรณีที่แฟ้มมีขนาดใหญ่จะทำให้ต้องใช้เวลามากในการเข้าถึงแฟ้ม เนื่องจากต้องย้ายไปยังบล็อคต่างๆ ที่เก็บข้อมูลของแฟ้มหลายบล็อค
นอก จากการใช้ลิงก์ลิสต์ในการควบคุมบล็อคสำหรับเก็บแฟ้มแล้ว ยังมีวิธีการอื่นๆ ที่ช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้น คือการทำตารางเก็บค่าหมายเลขบล็อคแต่ละบล็อคที่เก็บแฟ้มไว้แทนการเก็บไว้ที่ ท้ายบล็อคนั้นๆ ซึ่งเรียกว่าตารางการจัดสรรแฟ้มหรือที่เรียกกันทั่วไปว่าตารางแฟต ดังภาพด้านล่าง โดยทั่วไปตารางการจัดสรรแฟ้มจะถูกโหลดมาเก็บไว้ในหน่วยความจำทำให้สามารถ เข้าถึงแฟ้มข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
ภาพแสดงแฟ้มข้อมูลแบบตารางแฟต
จากตัวอย่างตารางแฟต จะมีการเก็บหมายเลขบล็อคของแฟ้ม 2 แฟ้ม คือแฟ้มแรก เริ่มต้นที่บล็อคหมายเลข 6 แล้วตามด้วยบล็อคหมายเลข 4 หมายเลข 6 และ หมายเลข 2 ตามลำดับ สำหรับแฟ้มที่สองเริ่มที่บล็อคหมายเลข 8 แล้วตามด้วยบล็อคหมายเลข 16 หมายเลข 15 และ หมายเลข 7 ตามลำดับ วิธีการนี้เป็นวิธีการที่ใช้ในระบบปฏิบัติการดอส และจากการที่ตารางแฟตมีความสำคัญต่อการเข้าถึงแฟ้มดอสจึงออกแบบให้มีตารางแฟต 2 ตารางที่มีข้อมูลภายในเหมือนกันโดยอีกตารางเป็นตารางแฟตสำรองในกรณีที่ตารางแรกเกิดความเสียหาย ระบบแฟ้มแบบบแฟต
ที่มา: http://www.tkc.ac.th/osunun/e-booksystem/u7_5.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น