วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

1. โครงสร้างของแฟ้มข้อมูล

 โครงสร้างของแฟ้มข้อมูล
การจัดโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลสามารถจัดได้หลายรูปแบบ แต่ส่วนใหญ่แล้วในทางปฏิบัติ ระบบปฏิบัติการมีวิธีการจัดโครงสร้างที่นิยมใช้งานใน 3 ลักษณะ คือ
                1.  การเก็บข้อมูลแบบไม่มีโครงสร้าง โดยจะเก็บข้อมูลเรียงเป็นลำดับต่อเนื่องกันไปดังแสดงในรูปที่  () โดยแต่ละชิ้นข้อมูลมีขนาดเป็นไบต์ ซึ่งในการเก็บข้อมูลลักษณะนี้ระบบปฏิบัติการจะไม่สนใจว่าในแฟ้มมีข้อมูลอะไรอยู่ จะมองข้อมูลในรูปของไบต์ทั้งหมด ระบบปฏิบัติการดอสและ
ยูนิกซ์ต่างก็มีโครงสร้างแฟ้มข้อมูลในลักษณะนี้ใช้งาน ซึ่งทำให้ผู้เขียนโปรแกรมสามารถจัดเก็บข้อมูลใดๆก็ได้ลงในแฟ้มข้อมูลโดยไม่จำเป็นต้องมีข้อกำหนดพิเศษใดๆ
2. การเก็บข้อมูลแบบมีโครงสร้าง โดยจะเก็บข้อมูลในลักษณะของกลุ่มข้อมูล ซึ่งเรียกว่า เรคอร์ด ดังแสดงในรูปที่  () โดยเรคอร์ดจะมีขนาดคงที่ ในการอ่านหรือบันทึกข้อมูลจะกระทำทีละ เรคอร์ด โดยกระทำกับเรคอร์ดใดในแฟ้มก็ได้
3. การเก็บข้อมูลแบบต้นไม้ ดังแสดงในรูปที่  () วิธีการนี้จะมีการแบ่งส่วนของสื่อบันทึกข้อมูลของเป็นส่วนๆ เรียกว่าบล็อก โดยแต่ละบล็อกจะมีหลายๆ เรคอร์ด และแต่ละ เรคอร์ด
มีคีย์ ( Key ) เพื่อใช้ในการจำแนกเรคอร์ด ในการเข้าถึงข้อมูลในแฟ้มข้อมูลจะไม่ได้เข้าถึงข้อมูลแบบลำดับแต่การเข้าถึงข้อมูล จะเป็นการเข้าถึงโดยอาศัยคีย์ ซึ่งเป็นการเข้าถึงข้อมูลเรคอร์ดนั้นโดยตรง โดยโครงสร้างของต้นไม้จะเรียงลำดับโดยคีย์ ซึ่งทำให้การเข้าถึงข้อมูลทำได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยอาศัยคีย์ในการเข้าถึง
()
()
()
ภาพแสดงโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลแบบต่างๆ
                ระบบปฏิบัติการที่มีประสิทธิภาพ จะต้องเป็นสามารถทำให้ผู้ใช้เป็นอิสระจากอุปกรณ์ ( Device Independent ) ดังนั้นการเข้าถึงแฟ้มเพื่อใช้งานข้อมูลของใช้จะต้องเหมือนกันหรือมีรูบแบบเดียวกันหมดไม่ว่าจะเป็นแฟ้มหรืออุปกรณ์ใดๆ เช่น โปรแกรมที่อ่านข้อมูลจากแฟ้ม อินพุตเข้ามาเรียงลำดับข้อมูล และเขียนผลลัพธ์กลับไปที่แฟ้มเอาต์พุต ควรใช้ได้กับแฟ้มบนฟล็อปปี้ดิสก์หรือแฟ้มบนฮาร์ดดิสก์ และควรเขียนเอาต์พุตออกทางแฟ้ม จอภาพ หรือเครื่องพิมพ์ ได้โดยไม่ต้องเขียนโปรแกรมให้ตรวจสอบในแต่ละกรณี 

ที่มา: http://www.tkc.ac.th/osunun/e-booksystem/u7_1.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น