วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

4.1 การจัดเก็บแฟ้มเรียงต่อเนื่องกันตลอดทั้งแฟ้ม ( Continuous Allocation )

การจัดเก็บแฟ้มเรียงต่อเนื่องกันตลอดทั้งแฟ้ม ( Continuous Allocation )               
           
 เป็นแนวคิดพื้นฐานในการจัดเก็บแฟ้มข้อมูล โดยจะจัดเก็บแฟ้มข้อมูลในรูปของลำดับบล็อกที่ต่อเนื่องกัน    เช่นหากแต่ละบล็อกมีขนาด 1 กิโลไบต์ แฟ้มข้อมูลขนาด 50 กิโลไบต์ ก็ต้องใช้เนื้อที่ขนาด 50 กิโลไบต์ที่ต่อเนื่องกันในดิสก์ ซึ่งแนวคิดในการจัดเก็บข้อมูลแบบนี้จะมีข้อดี 2 ประการ คือ มีโครงสร้างไม่ซับซ้อนและใช้งานง่าย เนื่องจากในระบบแฟ้มข้อมูลแบบนี้ไม่จำเป็นต้องมีการรักษาค่าต่างๆ ของดิสก์เลย เพียงแต่ทราบตำแหน่งเริ่มต้นของแฟ้มข้อมูลก็จะสามารถทำงานได้โดยการอ่าน ข้อมูลต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ จนกว่าจะสิ้นสุดแฟ้มข้อมูล และข้อดีประการที่สองคือในการอ่านข้อมูลทั้งแฟ้มนั้นสามารถทำได้โดยใช้คำ สั่งอ่านข้อมูลเพียงคำสั่งเดียวก็จะสามารถอ่านข้อมูลที่มีในแฟ้มข้อมูลนั้น ได้ทั้งหมด และในทางกลับกันแฟ้มข้อมูลลักษณะนี้ก็มีข้อเสียสองประการ
เช่นเดียวกันคือ ประการแรกระบบปฏิบัติการจะไม่สามารถทราบขนาดของแฟ้มข้อมูลเมื่อเริ่มมีการสร้างขึ้นมาได้

               ซึ่งจะส่งผลให้ไม่สามารถที่จะเตรียมเนื้อที่ดิสก์เพื่อสำรอง การเก็บข้อมูลของแฟ้มนี้ได้ หรือไม่ทราบว่าจะต้องเตรียมเนื้อที่ดิสก์สำหรับแฟ้มนี้ขนาดเท่าใด ประการที่สองคือ การใช้งานแฟ้มข้อมูลแบบนี้อาจจะก่อให้เกิดปัญหาเนื้อที่ว่างในดิสก์ที่ไม่ สามารถใช้งานได้ หรือเนื้อที่ว่างในดิสก์ไม่มีเนื้อที่ที่ต่อเนื่องกันที่เพียงพอสำหรับเก็บ ข้อมูลของแฟ้มแบบนี้ ทั้งนี้เนื่องจากแฟ้มข้อมูลแบบนี้ต้องการเนื้อที่ที่ต่อเนื่องกันในการเก็บ ข้อมูล ดังนั้นระบบปฏิบัติการจึงจำเป็นต้องมีการรวมเนื้อที่ว่างในดิสก์ เพื่อให้มีเนื้อที่ว่างเพียงพอ ซึ่งจะส่งผลให้ต้องเสียเวลาในการต้องรวมเนื้อที่ว่างเพื่อการดังกล่าว และปัญหาลักษณะเดียวกันนี้อาจจะเกิดขึ้นในกรณีที่มีการปรับปรุงหรือเพิ่ม ข้อมูลซึ่งแฟ้มมีขนาดใหญ่ขึ้น และต้องการเนื้อที่มากขึ้น ทำให้แฟ้มนั้นอาจไม่สามารถจัดเก็บในตำแหน่งเดิมในดิสก์ได้เนื่องจากไม่มีที่ ว่างพอ ดังนั้นจึงต้องหาที่ว่างในดิสก์ที่ใหม่ที่มีขนาดใหญ่เพียงพอสำหรับขนาดใหม่ ของแฟ้มที่โตขึ้นและเนื้อที่ของดิสก์ที่มีขนาดเล็กจนไม่สามารถเก็บแฟ้มใดได้ ก็จะเป็นเนื้อที่ที่ไม่มีการใช้ประโยชน์ จึงทำให้การจัดเก็บแฟ้มแบบนี้ไม่นิยมนำมาใช้ในระบบปฏิบัติการ

ที่มา: http://www.tkc.ac.th/osunun/e-booksystem/u7_5.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น